จำกันได้ไหมครับว่า ????ประเทศไทยแดนสยามเป็นที่เลื่องลือในหมู่ชาวต่างชาติว่าเป็น Land of smiles



คนญี่ปุ่นเขาก็มีคำเรียกประเทศไทยเราว่า 
เป็น “ประเทศแห่งรอยยิ้ม” ซึ่งใช้คำศัพท์ภาษาญี่ปุ่น
ว่า 微笑みの国 [โฮะโฮะเอะมิโนะคุนิ]
เราจะมาดูที่มาของคำศัพท์นะครับ

微 [บิ]เป็นตัวอักษรคันจิที่มีความหมายว่า “เล็กๆ” “ยิบย่อย”
เราจะสังเกตได้ว่า เขาก็ใช้คันจิ 微 [บิ] 
นี้เช่นกันในคำว่า 微分 [บิบุน] ที่ความหมายว่า 
“อนุพันธ์”คุ้นๆ ไหมว่า “อนุพันธ์” คืออะไร
ใครเคยเรียนวิชา Calculus แล้ว
จะมีการคำนวณที่พวกเราชอบเรียกกันว่า “ดิฟ”
 ซึ่งมาจากภาษาอังกฤษคำว่า Differentiate 
ซึ่งการ “ดิฟ” นี้ภาษาไทยเขาเรียกว่า “อนุพันธ์” ครับ

กลับมาที่คำว่า 微分 [บิบุน] กัน
微分 [บิบุน] ก็สามารถแปลตรงๆ 
ได้ว่า “การแบ่งเป็นส่วนย่อยๆ เล็กๆ”
การ “ดิฟ” หรือ อนุพันธ์ หรือ 微分 [บิบุน] 
คือการหาความชันหรืออัตราการเปลี่ยนแปลงครับ

ออกทะเลไปไกลถึงอ่าวญี่ปุ่นเลย 
กลับมาที่คำว่า 微 [บิ] อีกครั้ง
ขอบอกอีกแล้วกันว่า 微 [บิ ]แปลว่า “เล็กๆ” “ยิบย่อย” ครับ
ส่วนตัวคันจิ 笑う [วะระอุ] แปลว่า “หัวเราะ”
ซึ่งคนเขาชอบบอกกันว่าคันจิตัว 笑 นี้หน้าตา
เหมือนรูปคนยิ้มหัวเราะ ผมว่ามโนดีๆ ก็เห็นเป็นอย่างที่ว่าครับ
เวลาเราเอาคำว่า 微 [บิ] + 笑う[วะระอุ] 
มารวมกันแล้วมันอ่านว่า 微笑み [โฮะโฮะเอะมิ] 


แต่เมื่อเอาคำว่า 微 [บิ] “เล็กน้อย” + 笑う[วะระอุ]
“หัวเราะ” ก็ได้ความหมายตรงๆ ว่าหัวเราะแบบเล็กๆ น้อยๆ
หัวเราะแบบเล็กๆ น้อยๆ ก็คือการยิ้ม
หัวเราะแบบ “อนุพันธ์” หรือ หัวเราะแบบการ “ดิฟ” ก็คือการยิ้ม
สาบานได้ว่าคิดแบบนี้มาตลอดนับตั้งแต่รู้จักคำว่า “หัวเราะ” “ยิ้ม” และ “การดิฟ” ในภาษาญี่ปุ่น

ส่วนคันจิตัวสุดท้าย 国 [คุนิ] แปลว่า “ดินแดน” หรือ “ประเทศ”
รวมๆ คันจิสามตัวเข้าด้วยกันได้
คำว่า 微笑みの国 [โฮะโฮะเอะมิโนะคุนิ] “ประเทศแห่งรอยยิ้ม”
วันนี้ก็จบไปไม่มีอะไรพิเศษ แค่ผมเพียงอยากพูดถึงคำว่า 
การยิ้มเกิดจากการ “ดิฟ” ในการหัวเราะ
รอยยิ้มจะค่อยๆ เปลี่ยนแปลงเป็นเสียงหัวเราะครับ

สุดท้ายแล้ว อยากถามว่า
“วันนี้คุณยิ้มแล้วหรือยังครับ” ^o^
                            เล่าโดย : วสุ มารุมุระ                                                  

อยากให้...ประเทศเรา คนไทยไม่ทะเลาะกัน
ทุกวันนี้ เทคโนโลยีก้าวไกล
ทำไมเรากลับใช้ไว้ทะเลาะกัน
ความเห็นต่างกัน ขัดแย้งทางความคิด
ก็แสดงออกต่างๆ นานา เช่น แต่งกลอนเสียดสีกันบ้าง
#พี่คนดี เป็นต้น
เรายังรอคอยให้บ้านเมืองเราสงบสุขเช่นเคย
หวังว่าพรุ่งนี้เช้า ...วันนั้นคงมาถึงสักที..

บทฝึกของการเป็นคนดี
ใครว่าการเป็นคนดียาก...การเป็นคนดีนั้นไม่ยากเลย...

        บทฝึกของการเป็นคนดี พระราชภาวนาจารย์ (หลวงพ่อทัตตะชีโว) รองเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายได้ให้แง่คิดดีๆ ไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้
            1. หมั่นเข้าวัดฟังธรรมปรับทิฐิให้ตรง
          วัตถุประสงค์ใหญ่ของการเข้าวัดฟังธรรม คือ
                    1) บุญ บาป มีจริง
                    2) ตายแล้วไม่สูญ ยังมีการเวียนว่ายตายเกิดต่อไป
                    3) นรกสวรรค์มีจริง ทั้ง 3 เรื่องนี้ สรุปย่อๆ สั้นๆ ได้ว่า “กฎแห่งกรรม” มีจริง
          2. หมั่นนั่งสมาธิ ดึงใจกลับมาไว้ในตัว คือ การหมั่นทบทวนตัวเอง จับผิดตัวเราเอง และมุ่งมั่นแก้ไขตัวเองเป็นหลัก
          3. หมั่นวัดใจตัวเอง โดยฝึกหัดเอาใจกลับมาไว้ที่ตัวเองบ่อยๆ ตามวิธีของวัดพระธรรมกาย นั้น พระเดชพระคุณหลวงพ่อธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายจะสอนเสมอว่า “ให้นึกถึงดวงแก้ว หรือองค์พระบ่อยๆ แล้วตรวจสอบดูว่า ใจเราอยู่กับองค์พระ หรือว่าหนีเที่ยวมากกว่ากัน ถ้าหนีเที่ยวมากกว่า ให้รู้เถิดว่าเชื้อพาลของเรายังมีมาก ถ้าใจนึกถึงองค์พระ นึกถึงดวงแก้วได้บ่อยๆ มากกว่า แสดงว่าเรามีเชื้อบัณฑิตอยู่มาก บัณฑิตต้องตั้งใจฝึกฝนตนเอง มากกว่าจับผิดคนอื่น
            4. รักษาใจให้ใส เมื่อเกิดเหตุวุ่นวาย เมื่อน้ำใส มองเห็นกุ้งหอย ปูปลาได้ชัดเจน เพราะฉะนั้นในสังคมที่วุ่นวาย ต้องทำให้ใสเป็นพิเศษ อย่าปล่อยตามกระแส เพราะเมื่อใจขุ่นมัวจะมองเห็นปัญหาไม่ออก เมื่อมองไม่ออก มองโลกไม่เป็นตามความจริง ก็จะตัดสินปัญหาด้วยอารมณ์ ทำให้ปัญหาปานปลายต่อไปไม่สิ้นสุด ดังนั้นจึงต้องรักษาใจใสๆ คือไม่ขุ่นมัวทุกสถานการณ์
            5. ปล่อยวาง ถ้ายังแก้ไขปัญหาไม่ได้ เมื่อใครใจหมองขุ่นมัวตลอดก็จะมุ่งแต่เอาชนะกันทุกกรณี เมื่อทำอะไรผิดพลาดก็จะยิ่งเกิดปัญหาบานปลาย เหมือนเดินวนใต้ทะเล ดังนั้นต้องมองให้ออกก่อนว่าจะต้องทำอย่างไร โดยปล่อยวางก่อน ปล่อยมือจากเชือกที่ผูกมัดหรือการทะเลาะเบาะแว้งกันก่อน จะปลอดภัย เป็นการลดความกระทบกระทั่ง หรือหลีกเลี่ยงการสร้างบาปก่อเวรก่อกรรมได้อย่างนุ่มนวล
            6. จับแง่คิดเป็น เพื่อหลีกเลี่ยงการทะเลาะวิวาท เวลาทะเลาะกันไม่มีฝ่ายไหนถูก 100% จับแง่คิดให้ดีๆ ทั้งฝ่ายถูกและฝ่ายผิด
            7. ไม่ว่าเหตุร้ายหรือดี ต้องเห็นคุณค่าและขวนขวายสร้างบุญ ครั้งหนึ่งหลานสาวท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีร้องไห้เพราะทำตุ๊กตาแป้งตกแตก คนในบ้านทั้งบ้านปลอบก็ไม่เลิกร้องไห้ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีมาถึงพอดีจึงสอบถามว่าหลานสาวร้องไห้ทำไม หลานสาวตอบว่าตุ๊กตาแป้งมันตกแตก ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีมีวิธีปลอบใจหลานสาวตามวิธีของพระโสดาบันว่า ร้องไห้ไปทำไม แค่ตุ๊กตาแป้งตกแตก หลานบอกว่ามันเป็นของเธอ ท่านเข้าใจว่านี่ไม่ใช่แค่ตุ๊กตาเสียแล้ว ท่านตอบว่าตุ๊กตาเป็นของหลานสาวเช่นนั้น เราไปทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ตุ๊กตากัน สรุปว่าหลานสาวของท่านหยุดร้องไห้ แล้วท่านจึงนิมนต์พระ 500 รูป ทำบุญติดต่อกัน 3 เดือน อีกอย่างไม่ว่าอยู่ที่ไหน เวลาใด อย่างไรต้องทำบุญต่อเนื่อง บ้านเมืองของเราเกิดปัญหาทุกวันนี้เพราะบุญหย่อน ต้องรีบเติมบุญ
            8. มีข้อบกพร่องรีบแก้ไข มีข้อดีให้ทำยิ่งขึ้นไป โดยการสำรวจว่า
                    (1) เรายังมีข้อบกพร่องอะไรบ้าง แล้วรีบแก้ไข
                    (2) เรามีข้อดีอะไรบ้าง รีบพัฒนาให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป
          เพราะบัณฑิตมีการพิจารณาแก้ไขตนเองเป็นหลัก ไม่เพ่งโทษใคร มีแต่เพ่งโทษตนเอง และแก้ไขตนเองยิ่งๆ ขึ้นไป ไม่มีโทษ ไม่มีพิษ ไม่มีภัย แต่คนพาลมีแต่เพ่งโทษผู้อื่น จับผิดผู้อื่นเป็นกำลัง เมื่อเราลดข้อเสียของตนเองได้ เหมือนเราชักฝืนออกจากเตาโลกที่วุ่นวาย ลดกระแสกิเลสและกรรม เป็นการเติมบุญให้ตนเองและเติมบุญให้แก่โลกด้วย
            9. ปฏิบัติตามความดีสากล คือ ฝึกนิสัยมีความรับผิดชอบต่อความสะอาด มีความรับผิดชอบต่อความเป็นระเบียบ มีความรับผิดชอบต่อความสุภาพ มีความรับผิดชอบต่อความตรงเวลา และมีความรับผิดชอบต่อความเป็นสมาธิ
          ความดีสากลต้องเริ่มต้นที่ความสะอาด และต้องรักษากันตลอดชีวิต  เมื่อรักษาความสะอาดได้จะเป็นผลให้สามารถฝึกความเป็นระเบียบ ตรงเวลา และฝึกสมาธิได้ ทำไมต้องรักษาความสะอาด เพราะความสกปรกโสโครก ออกจากตัวมนุษย์ทุกวัน ทุกอนุวินาที พอสกปรกก็ไม่มีระเบียบ รกรุงรังมากขึ้น ตราบใดที่เราอยู่บนโลก ต้องปฏิบัติต่อกันด้วยความสุภาพ และต้องรักษาเวลาให้ดี ถ้าไม่ตรงเวลา ก็จะมีข้ออ้าง มีข้อแก้ตัว โกหก คำพูดพัง ความสุภาพก็พัง แต่กิเลสในใจโตวันโตคืน
          ดังนั้นเราต้องฝึกความดีสากลตลอดชีวิต หนีไม่ได้ ต้องทำเป็นนิสัย พัฒนาเป็นคุณธรรม ศีลธรรม เป็นธรรมะ เป็นบารมีที่ยิ่งๆ ขึ้นไป กลายเป็นบัณฑิตที่มีความชำนาญในการรักษาใจให้ผ่องใสเป็นปกติ ฝังอยู่ในใจข้ามภพข้ามชาติ นี่คือความสำคัญของความดีสากลแต่ละข้อ



          นอกจากนี้ยังมีวิธีฝึกใจให้เป็นคนดี มีด้วยกัน 10 วิธี หรือบุญกิริยาวัตถุ 10 ประการ
 การสร้างบุญสร้างกุศลหรือสิ่งดีให้เป็นคนดีนั้นมี 10 วิธี (พระธรรมกิตติวงศ์, 2552, 37) ดังนี้
          1. ทาน ทำด้วยการบริจาคทาน เสียสละสิ่งของ เงินทอง ปัจจัย 4 แก่ผู้อื่น ข้อนี้ต้องเป็นคนมีอันจะกินเท่านั้นควรทำ คนหากินไม่ค่อยพอปากพอท้องจะทำก็ทำแต่พอประมาณ ขืนทำมากแบบอึตามช้างจะอดเอา หากว่ายอมอดก็ทำเถิดเป็นบุญแท้
          2. ศีล ทำด้วยการรักษากาย วาจาให้เป็นปกติ การรักษาศีลทุกคนทำได้ อย่าไปทำให้ใครเดือดร้อนด้วยกาย ด้วยวาจา เป็นใช้ได้ ข้อนี้คนมั่งมี คนยากจนทำได้ ผู้ใหญ่เด็กทำได้ ไม่เลือกวัย ไม่ต้องลงทุน เพียงแต่ตั้งใจลงแรงเท่านั้น
            3. ภาวนา ทำด้วยการอบรมจิตและเจริญปัญญา คืออบรมใจตนเองให้สงบ ควบคุมอารมณ์ให้อยู่นิ่ง ให้หยุดคิดฟุ้งซ่าน ฝึกฝนตนเองให้มีปัญญา ให้มีสามัญสำนึก ฝึกคิดรูู้จักผิดชอบชั่วดี รู้จักหน้าที่ จะอ่านหรือดูหรือทำอย่างอื่นก็ได้ ให้เกิดสิ่งที่ว่ามาเป็นภาวนาทั้งสิ้น ข้อนี้ไม่ต้องลงทุน ทำได้ทุกคนเหมือนกัน
          4. อปจายนะ ทำด้วยการนอบน้อมถ่อมตน คือ มีมารยาทงาม เคารพอ่อนน้อม รู้จักที่ต่ำที่สูง ข้อนี้เหมาะสำหรับเด็กและผู้น้อย ทำให้เป็นบุญ และได้รับผลทันตา ไม่เชื่อลองดู
          5. เวยยาวัจจะ ทำด้วยการช่วยเขาทำกิจ คือ มีน้ำใจช่วยเพื่อนฝูง ทำงานทำการที่เป็นเรื่องส่วนรวมด้วยเต็มใจ บำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ ออกแรงยกแบกหามเท่าที่จะช่วยได้ สร้างสาธารณสถาน เช่นที่พักร้อน ศาลา โรงเรียนเป็นต้น ถ้าไม่ทำเอง จะออกเงินให้เขาสร้างก็อนุโลมเข้าข้อนี้ หรือการมีน้ำใจไปเยี่ยมเยียนถามสารทุกข์สุกดิบกันก็จัดเข้าไปในข้อนี้เหมือนกัน ข้อนี้จะลงทุนก็ได้ ลงแรงก็ได้ เป็นบุญทั้งนั้น
          6. ปัตติทาน ทำด้วยการแบ่งส่วนบุญให้ผู้อื่น คือเมื่อไปทำดีทำบุฯ อะไรมาก็บอกกล่าวเพื่อนฝูงหรือญาติๆ ให้รู้ เขาจะพลอยชื่นชมด้วย เช่น เวลาทำบุญแล้วกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว จัดเป็นการแบ่งส่วนบุญให้ผู้อื่น ข้อนี้ทำได้เฉพาะผู้ที่ทำบุญให้มีในตัวเสียก่อนเท่านั้น หากไม่ได้ทำบุญอะไรจะเอาบุญที่ไหนไปยกให้เขา จริงไหม
          7. ปัตตานุโมทนา ทำด้วยการพลอยอนุโมทนาส่วนบุญที่เขาแบ่งให้ คือใครเขาไปทำบุญมาแล้วมาบอกเรา เราก็ยกมือขึ้นว่าสาธุ นั้นแหละถือว่าได้บุญเป็นปัตตานุโมทนา ฟังๆ ดูการทำบุญนี่ง่ายเหลือเกิน แต่ความจริงข้อนี้ทำยาก คือต้องตั้งจิตใจยินดีร่าเริงชื่นชมไปกับเขาด้วย ไม่ใช่สาธุส่งๆ ไป คนเรามักจะพลาดบุญข้อนี้กัน เพราะมักจะ “ไม่อยากเห็นใครเด่นเกิน” หรือไม่อาจทำใจให้ยินดีต่อคนที่ทำความดีและได้รับผลสำเร็จในความดีได้ คือทำใจให้มี “มุทิตา” ไม่ได้นั่นเอง
          8. ธัมมเทสนา ทำด้วยการแสดงธรรม หมายรวมถึงการอบรมสั่งสอนผู้อื่น สอนลูกสอนหลานสอนลูกศิษย์ การพูดอภิปรายหรือวิธีการอื่นที่ทำให้เขาเกิดปัญญา เกิดความสำนึก หรือหวังให้เขาเป็นคนดี เป็นบุญทั้งสิ้น และบุญข้อนี้ ทำได้ทุกวัน ทุกเวลา ทุกสถานที่
            9.  ธัมมัสสวนะ ทำด้วยการฟังธรรม รวมทั้งการฟังบรรยาย ฟังวิทยุโทรทัศน์ อ่านหนังสือ เรียนหนังสือ หรือวิธีก่อเกิดปัญญาอย่างอื่น ก็จัดเป็นบุญ
          10. ทิฎฐุชุกัมม์ ทำด้วยการทำความเห็นให้ตรง ปรับความคิดเห็นให้ถูกต้องตามความจริง ยอมรับความถูกต้อง คือมีปัญญาว่าทำอย่างไรดีไม่ดี ทำอย่างไรเป็นบุญไม่เป็นบุญ รู้ว่าวิธีการทำบุญทั้ง 9 วิธีข้างต้น ถ้าเห็นไม่ตรงหรือไม่เห็นด้วยเสียแล้วก็ทำไม่ได้
          ดังนั้นการทำบุญทำความดี เราทำได้ทุกที่ ไม่เฉพาะในวัด และทำได้หลายอย่าง แต่เรามักไม่ค่อยทราบ เลยไม่สนใจที่จะนำมาใช้ประโยชน์แล้วก็โทษว่า “บุญไม่ช่วย” ดูกระไรอยู่


          สรุปดังจะเห็นได้ว่าการเป็นคนดีนั้นไม่ยากเลย 


หลวงพ่อธัมมชโยไม่ผิด!!!


"อย่าเอาตัวเราไปวัดหัวใจผู้ทุ่มเท
ทำหน้าที่อย่างเอาชีวิตเป็นเดิมพัน
ใครไม่เข้าใจ ไม่รู้จริง เชื่อข่าวใส่ร้าย ติเตียนท่าน
จะเป็นกรรมหนัก แบกบาปมหาศาล"


วิธีสังเกตว่าเป็นคนดีหรือคนเลว


คนจะดีหรือเลว มันขึ้นอยู่ที่ใจของเขา ถ้าใจของเขาคิดดี ก็จะเป็นผลให้พูดดี ทำดี ถ้าใจของเขาคิดชั่ว ก็จะส่งให้พูดชั่วทำชั่ว
 โดยทั่วไปแล้ว มีคนบางคนชอบคิดชั่วๆ ตลอดเวลา แต่แสร้งทำเป็นพูดดี ทำดีต่อหน้าคน ถ้าลับหลังระหว่างอยู่ในกลุ่มคนเลวๆ ด้วยกัน เขาก็จะพูดเลว ทำเลว คนประเภทนี้ถ้าคบกันเผินๆ เราก็จะหลงเข้าใจว่าเป็นคนดี
pray for taiwan
"ส่งใจไปไต้หวัน...รวมดวงใจชาวไทยพุทธ"
           หลังจากวันที่ 6 ก.พ. 2559 เวลา 03.57 น. ตามเวลาในประเทศไต้หวัน ที่เมืองไถหนัน วัดขนาดเร่งสั่นสะเทือนได้ 6.4  ริกเตอร์ ศูนย์กลางอยู่ลึกลงไปใต้ดิน 23 กิโลเมตร 
           ผลจากเหตุการณ์ภัยภิบัติแผ่นดินไหวในครั้งนี้ ทำให้เกิดความเสียหายในพื้นที่โดยรอบศูนย์กลาง โดยเฉพาะที่เมืองไถหนัน ซึ่งมีอาคารที่พักอาศัยพังถล่ม มีผู้ติดอยู่ในซากปรักหักพังจำนวนมาก หน่วยกู้ภัยช่วยเหลือออกมาได้แล้ว 245 คน ขณะที่ยังมีผู้ติดใต้ซากตึกอีกกว่าจำนวน 150 คน 
           ความสูญเสีย รายงานล่าสุด ณ วันนี้มีผู้วายชนม์จำนวน  40 ราย ผู้สูญหายจำนวน 100 กว่าคน 
           ล่าสุดยังมีความหวัง เมื่อหน่วยกู้ภัยไต้หวันช่วยชีวิตเด็กน้อยวัยไม่ถึง 10 ขวบ ออกมาจากตึก ที่ติดอยู่ 60 ชั่วโมงได้
อย่างอัศจรรย์ 

  
            ธารน้ำใจของผู้คนทั่วโลก กำลังส่งตรงไปถึง ทั้งความช่วยเหลือเครื่องอุปโภคบริโภครวมถึงปัจจัย และกำลังใจ อธิษฐานให้เจ้าหน้าที่ทางการค้นพบผู้ติดใต้ซากตึกพังอย่างรวดเร็ว และให้ชาวไต้หวันปลอดภัย



         

ความในใจจากชาวไต้หวันค่ะ
台灣ไต้หวัน
只是一個小島  เพียงเกาะเล็ก ๆ
經常有颱風與地震等天災發生
พายุไต้ฝุ่นและการเกิดแผ่นดินไหว ภัยธรรมชาติต่างๆ เกิดขึ้นบ่อย
但國人卻從來沒有放棄希望
แต่คนไต้หวันที่ไม่เคยละทิ้งความหวัง
直至今日 จนถึงวันนี้
還在努力挽救任何一個有希望的生還者
ยังพยายามที่จะกอบกู้ความหวังของผู้รอดชีวิตใด ๆ

台灣ไต้หวัน
只是一個小島เพียงเกาะเล็ก ๆ
長年被不同外來政權統治
ถูกปกครองโดยรัฐบาลต่างประเทศเป็นระยะยาว
但國人卻從來沒有放棄民主
แต่คนไต้หวันไม่เคยยอมทิ้งบระชาธิปไตย
就在日前เพียงไม่กี่วันที่ผ่านมา
還選舉出亞洲第一位女總統
ยังได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีหญิงคนแรกในเอเชีย

台灣ไต้หวัน
只是一個小島เพียงเกาะเล็ก ๆ
沒有十分傲人的歷史文化
ไม่ได้ความภาคภูมิใจของประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
但國人卻充滿理性與包容
แต่คนไต้หวันเต็มไปด้วยเหตุผลและความอดทน
致使佛教各派傳承
ทำให้พุทธนิกายทุกสาย
都能在台灣島上發光發熱
สามารถมีความพัฒนาและคืบหน้าที่ยิ่งใหญ่ในไต้หวันหมดเลย

相反地โดยตรงกันข้าม

泰國地大物博ประเทศไทยโอบอ้อมอารี
沒有天災  ไม่มีภัยพิบัติทางธรรมชาติ
沒有政治天敵ไม่มีการไล่ล่าทางการเมือง
擁有享譽全球的佛教傳統文化
แต่ก็มีวัฒนธรรมชาวพุทธแบบดั้งเดิมมีชื่อเสียงระดับโลก
卻忙著在討論已經過去好久的小事
แต่ก็ยุ่งในสิ่งเล็กๆ น้อยๆที่ผ่านไปนานแล้ว
要高僧大德為信眾捐款的來源負責
คิดว่าพระเถระในสงฆ์ต้องรับผิดชอบที่มาของปัจจัยบริจาค
甚至認為佛教會阻礙國家的發展
หรือคิดว่าพระพุทธศาสนาจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ

好奇怪แปลกจัง

難道眼前沒有更重要的事情要做了嗎
ไม่มีสิ่งที่สำคัญมากกว่านี้ที่ต้องทำหรือ

難道真的要退到亞洲的最後嗎
อยากเป็นประเทศล้าหลังที่สุดในทั้งเอเชียหรือ

身為一個台灣人ในฐานะที่เป็นชาวไต้หวัน

身為一位佛教徒ในฐานะที่เป็นชาวพุทธ

我愛台灣ฉันรักไต้หวัน

我愛佛教ฉันรักพระพุทธศาสนา

我以台灣與佛教為榮
ฉันภูมิใจในไต้หวันและพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่งค่ะ

台灣 加油 ไต้หวัน สู้ๆนะ
佛教 加油 พระพุทธศาสนา สู้ๆนะ
泰國 您也要加油 
เมืองไทย คุณก็ต้องสู้นะคะ


         ในขณะที่สถานการณ์โลกของเรา หลายประเทศต่างพบเจอกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ และภัยจากความไม่สงบจากสงครามความขัดแย้งทั้งหลาย
            สถานการณ์บ้านเมือง ประเทศไทยของเรา แม้ไม่ประสบภัยทางธรรมชาติ แต่เรากำลังตกอยู่ในสงครามทางศาสนาอย่างแท้จริง ด้วยความหวังว่าในเร็ววัน บ้านเมืองของเราจะร่มเย็นเหมือนแต่ก่อน ผู้คนปรองดองไม่เสียดสี ด่าทอ ว่าร้ายกัน โดยเฉพาะข่าวการคณะสงฆ์  
            คงจะถึงเวลาแล้ว!!!!ที่เราชาวพุทธจะต้องรวมใจกันเป็นหนึ่งเดียวกัน ไม่ใช่เพียงเพื่อผลประโยชน์ของใครคนใดคนหนึ่ง เบื้องหลังข่าวโจมตีต่างๆ เราไม่อาจทราบว่าข้อมูลใดคือข้อมูลที่ถูกต้องแท้จริง !!! 

ใครได้ประโยชน์?????           
            ถ้าคุณเป็นชาวพุทธ และลองสมมุติตัวเองเป็นคนนั่งดูกีฬาอยู่นอกสนาม กำลังดูการแข่งขันกีฬาที่กำลังดุเด็ดเผ็ดมัน  เราก็จะเห็นว่านักกีฬาทั้งสองฝ่ายกำลังต่อสู่กันอย่างสมศักดิ์ศรีหรือไม่ ฝ่ายไหนเล่นสกปรก ฝ่ายไหนอยู่ในกติกา 
           ท่านจะเห็นภาพชัดขึ้นว่ากำลังเกิดอะไรขึ้น ถ้าจะให้ดีลองศึกษา เทคนิควิธีการเล่น(เหตุการณ์ และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งศึกษาหาความรู้)เพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณา หากมีการแพ้ชนะเกิดขึ้น สถานการณ์จะเป็นอย่างไร 
            ถ้าเปรียบเทียบกับพระพุทธศาสนาในเวลานี้ ชาวพุทธทุกท่านที่มีใจเป็นธรรมขอท่านจงออกมานอกสนามแล้วมองไปให้รอบว่าเกิดอะไรขึ้นขณะนี้  
            ทำไมมีการด่าว่าพระกันรายวัน เอาภาพพระที่เป็นที่เคารพของคนจำนวนมากมาตัดต่อ ใช้คำที่ไม่เหมาะสมต่อพระภิกษุที่เป็นพระระดับชั้นปกครองสูงสุด ทำแบบนี้แล้วใครได้ประโยชน์ แล้วถ้าหากพระพุทธศาสนามีอันล่มสลาย เมืองไทยจะเป็นอย่างไร  แล้วศาสนาอะไรจะมาแทนที่ 




                                               ศาสนากำลังมีภัย..                              
                             ใยเราชาวพุทธจักนิ่งเฉย
                              หรือจะวางอุเบกขาอย่างตามเคย       
                              ปล่อยเชลยเป็นพระสงฆ์องค์สังฆราชา
                              แล้วต่อไปเราชาวพุทธจะอยู่ไหน         
                              ปู่ย่าไซร้สร้างแผ่นดินถวิลหา
                              สร้างวัดสร้างโบสถ์กันเรื่อยมา             
                              ถึงเวลาแล้วฤา รื้อแผ่นดิน
                              ต่างประเทศประสบภัยพิบัติ                  
                              แต่ที่ไทยวัดพระสงฆ์ยังโศกสินธุ์
                              มารวมใจต้านภัยมืดล้างแผ่นดิน          
                              อย่าให้สิ้นศักดิ์ศรีที่เป็น "ชาวไทย"
ประพันธ์โดย : อังคนารักษ์ พิทักษ์ธรรม

ต้องทำอย่างไร ถึงจะเป็น "คนดี"


จากคำตอบว่า หากโลกนี้มีคนดีเป็นจำนวนมาก ย่อมดีกว่ามีคนชั่วเต็มแผ่นดิน อีกทั้งศาสนาต่างๆ ล้วนแต่สอนให้ทุกคนเป็นคนดี ตามหลักการของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นศาสดา..ด้วยหลักการทางพระพุทธศาสนา หรือการศึกษาพุทธจริยศาสตร์ วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับความหมายของดี ชั่ว ถูก ผิด และเกณฑ์หรือมาตรฐาน สำหรับตัดสินว่าการกระทำอย่างไรจึงจะถือว่า ดี ชั่ว ถูก หรือ ผิด พร้อมกับศึกษาความหมายของการมีชีวิตที่ดี   (อุทัย สติมั่น, มปป, 3) พระพุทธองค์ได้ตรัสสอนไว้ว่า...

ปรทุกฺขูปธาเนน โย อตฺตโน สุขมิจฺฉติ
เวรสํสคฺคสํสฏฺโฐ เวรา โส น ปริมุจฺจติ ฯ
ผู้ใดต้องการสุขเพื่อตน ด้วยการก่อทุกข์แก่ผู้อื่น
                                  ผู้นั้นชื่อว่า พัวพันไปด้วยเวร ย่อมไม่พ้นจากเวร  (ขุ.ธ. 25 / 53)





            คุณสมบัติของคนดีในพระพุทธศาสนาคือ มีศีล 5 เพราะศีล 5 รากฐาน...มาตรฐานคนดี ทางพระพุทธศาสนาแสดงว่าสิ่งที่ทำให้คนเป็นคนไม่เป็นสัตว์นั้น คือ ต้องเว้นจากการกระทำเป็นต้นว่าการเบียดเบียน เว้นการทำลายผู้อื่นและตัวเองด้วย เว้นจากการฆ่าทำร้ายกัน เว้นการลัก การปล้น การโกงกัน เว้นการทำผิดทางเพศ โดยการละเมิดสิทธิของผู้เป็นเจ้าของ เว้นการพูดปดหลอกลวงกัน ไม่มีความจริงใจต่อกัน เว้นการดื่มของมึนเมาเสพของเสพติด (นี้คือศีล5) การเว้นดังกล่าวนี้ เรียกว่าศีล ซึ่งแปลว่าปกติธรรมดา และตามปกติธรรมดาคนทั่วไปไม่ได้ฆ่าเขา ลักเขา เป็นต้น ตรงกันข้ามการฆ่าเขาลักของเขาเป็นอาทิ กลับเป็นการผิดปกติธรรมดา พระพุทธองค์ท่านทรงบัญญัติศีลไว้ก็เพื่อให้คนอยู่ในสภาวะปกติธรรมดา พระพุทธองค์ท่านทรงบัญญัติศีลไว้ก็เพื่อให้คนอยู่ในสภาวะปกติตามสภาวะเดิม ไม่ก่อกวนใครอันทำให้เขาตลอดจนตัวเองต้องเดือดร้อน ผู้จะศึกษาพระพุทธศาสนา ต้องรู้รากฐานแห่งความดี อันทำให้คนเป็นคน คือ ศีล ดังกล่าวแล้วนี้ก่อน เรื่องศีลย่อมทำให้สังคมสงบอยู่เย็นเป็นสุข เกื้อกูลต่อเศรษฐกิจ หรืออย่างน้อยก็ทำให้รู้ว่าใครเป็นพ่อของเรา
          คนรักษาศีลแม้เพียงข้อเดียว อย่างเช่น เว้นการลัก โกง เพียงเท่านี้ก็มีคุณค่าต่อสังคมมากแล้ว ถ้าเรารักษามากข้อจะมีคุณค่ามหาศาลเพียงไร และถ้าใครรักษาเพียงข้อเดียว ผู้นั้นก็ชื่อว่ามีศีลเหมือนกัน แต่ว่ายังน้อยเท่านั้น และถ้าใครคิดว่ามีศีลไม่ดี ทำให้บ้านเมืองไม่เจริญ ก็ขอให้คิดอีกมุมกลับว่า ถ้าอย่างนั้นไร้ศีล คือ ฆ่ากัน ลักกัน โกงกัน ก็ต้องเป็นการดี ถ้าคนส่วนมากฆ่ากันโกงกันขโมยกันแล้ว สังคมในโลกจะเป็นอย่างไร คิดได้อย่างนี้แล้วจะรู้สึกเอง ศีลมีหลายอย่าง เช่น ศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 ศีล 227 เป็นต้น ซึ่งรายละเอียดเป็นที่ทราบกันอยู่แล้ว เมื่องดเว้นสิ่งที่ควรงดเว้นแล้วต้องบำเพ็ญสิ่งที่ควรบำเพ็ญด้วย เช่นเดียวกับเปลื้องเสื้อเหม็นออกแล้วสวมเสื้อดี สิ่งที่ควรบำเพ็ญอันแรก ได้แก่ เมตตา คือความปรารถนาดีต่อผู้อื่น สัตว์อื่น ทาน คือการให้ทรัพย์สิน ความรู้ กำลังกาย และอภัยแก่ผู้อื่น พอใจในคู่ครองของตน ไม่นอกใจ ความมีสัจจะ และความไม่ประมาท สิ่งเหล่านี้เป็นรากฐานแห่งความดีขั้นแรก (สมเด็จพระญาณวโรดม, 2521, 44)

          คำกล่าวที่เราได้ยินผู้เฒ่า ผู้แก่ท่านกล่าวบ่อยๆ ท่านว่า “ร้อนเขาร้อนเรา ไม่ทำ, ร้อนเขาเย็นเรา ไม่ทำ, เย็นเขาร้อนเรา ไม่ทำ, เย็นเขาเย็นเรา”  จึงทำ แยกอธิบายแต่ละประเด็นได้ความหมายได้ว่า

          1. ร้อนเขาร้อนเรา ไม่ทำ หมายความว่า ให้พิจารณาว่าการกระทำนั้นส่งผลเป็นทุกข์ หรือว่าสุขให้แก่ตนเอง คือหากสิ่งนั้นกระทำแล้วมีผลให้ผู้อื่นเกิดทุกข์ และตัวเองก็เกิดทุกข์ด้วย สิ่งนั้นไม่ควรกระทำ

            2. เย็นเขาร้อนเรา ไม่ทำ หมายความว่า ให้พิจารณาว่าการกระทำนั้นส่งผลเป็นทุกข์ หรือสุขแก่ผู้อื่น คือหากสิ่งนั้นกระทำแล้วมีผลให้เกิดความสุขแก่ผู้อื่นจริง แต่เกิดความทุกข์สำหรับตัวเราเอง สิ่งนั้นก็ไม่ควรทำ

          3. เย็นเขาเย็นเรา จึงทำ หมายความว่า ให้พิจารณาว่าการกระทำนั้นส่งผลเป็นสุข หรือทุกข์ ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น คือหากสิ่งนั้นกระทำแล้วมีผลให้ทั้งตัวเราและผู้อื่นเกิดความสุข สิ่งนั้นควรกระทำ

  จากเบื้องต้นจะเห็นได้ว่า นิยามหรือความหมายของคำว่า “คนดี” นั้นในแง่พระพุทธศาสนา คือ คนที่ไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับตนเองและผู้อื่น แล้วคำถามคือ คนดีอยู่เฉยๆ ก็เป็นคนดีแล้วหรือไม่
ดี-ชั่ว มาตรฐานคือ ศีล 5
คิดพูดทำ คือ กรรม หรือ การกระทำ
การทำแต่ละงานมีกรรมทั้งสิ้น
กรรมดี คือ กรรมที่ทำด้วยความรับผิดชอบ
กรรมชั่ว คือ กรรมที่ทำด้วยความไม่รับผิดชอบ

การช่างสังเกต ทำอะไรประณีต ตื่นนอนจนกระทั่งถึงเวลาเข้านอน ต้องทำด้วยความรับผิดชอบ สิ่งเหล่านี้ได้เป็นนิสัยออกมากจากคำพูด การกระทำของแต่ละคนออกมา

วิธีสังเกต ว่าใครคือคนดี ใครคือคนเลว 
พิจารณาจากไหน ไปติดตามกันในวันพรุ่งนี้


คนดี คือ ใคร?

โลกหมุนไปพร้อมกาลเวลาที่ก้าวหน้าและเทคโนโลยี ด้วยปัญญาอันชาญฉลาดของมนุษย์ ที่ถือว่าเป็นสัตว์ประเสริฐและเกิดมาเพื่อแสวงหาสิ่งที่คิดว่าจะอำนวยความสะดวกสบายแก่ตนและครอบครัว แต่กระนั้นมนุษย์ก็อยู่เพียงลำพังคนเดียวไม่ได้ เราจึงต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่นในชุมชน จากชุมชนเป็นสังคม และจากสังคมเป็นประเทศชาติ
และในเมื่อเราต้องดำรงชีวิตที่เกี่ยวเนื่องกับคนอื่นๆ ที่ต่างมีบทบาทและเข้ามาเกี่ยวข้องกับเราแตกต่างกัน อย่างเช่น พ่อแม่ พี่น้อง เพื่อน เจ้านาย ครูอาจารย์ ฯลฯ นิสัยของแต่ละคนก็ต่างๆ กันออกไปอีก หลายคนอาจมีข้อสงสัยมาโดยตลอดว่า คนดีคืออะไร.
.ทำอย่างไรจึงจะได้ชื่อว่าเป็น "คนดี" วันนี้หากมีเด็กน้อยคนหนึ่งถามคำนี้...
ทำไมผู้ใหญ่บอกแต่ว่าโตขึ้นไปให้เป็นคนดี ?


เพราะฉะนั้นสิ่งแรกที่ต้องการทราบนั่นก็คือ คนดีคืออะไร…?